รวมข้อมูลเกี่ยวกับ วงจรไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ความรู้พื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์ ไมโครคอนโทรลเลอร์ PLC การใช้งานโปรแกรม Proteus และอื่นๆอีกมากมาย
วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555
ElectroDroid โปรแกรมสำหรับช่างไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์
สวัสดีครับเพื่อนๆ Electronic สำมะปิ ทุกท่านครับ หากพูดถึงเรื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แล้วล่ะก็ หลายๆคนก็คงคิดอยากจะหาตำรามาศึกษาค้นคว้า หรือแม้แต่ผู้ที่จบมาทางด้านนี้แล้วในชีวิตการทำงานบางครั้งก็จำเป็นต้องพึ่งตารา เพราะข้อมูลเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีเยอะแยะมากมาย ยากที่จะจดจำได้หมด แต่ถ้าหากจะให้พกตาราติดตัวไปทุกที่ทุกเวลา มันก็คงเป็นเรื่องยากแน่ๆ
แต่ตอนมีโปรแกรมตัวช่วยสุดเจ๋งที่มีชื่อว่า ElecrtroDroid ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ และข้อมูลต่างๆ ทางไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์แบบครบครัน เรียกใช้งานได้สะดวกมากมาย จะเจ๋งขนาดไหนมาดูกันครับ
เมื่อดูที่คำอธิบายจะพบว่าครอบคลุมตั้งแต่เรื่องพื้นฐานตั้งแต่ แถบสีของตัวต้านทาน (Resistor), กฏของโอห์ม ไปถึงจนตำแหน่งขาของพอร์ต USB !
ตัวอย่างหน้าตาของโปรแกรม ElectriDroid ครับ ดาวน์โหลดมาติดตั้งกันเลยครับ
เมื่อเรียกใช้งานครั้งแรกจะมีคำขอบคุณ และคำแนะนำว่า ขอให้ช่วยให้คะแนนความนิยม (Rating) และมีคำแนะนำเกี่ยวกับ Buy Now ว่า เป็นเวอร์ชั่นสำหรับผู้พัฒนา และปลอดโฆษณา กดที่ Ok ได้เลยครับ
จากนั้นพบกับหน้าจอหลักของ ElectroDroid แถบเมนูแรกคือ Calculator ใช้ในการคำนวณหาค่าต่างๆ ของอุปกรณ์และค่าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์
คุ้นตากันมากใช่ไหมครับกับเรื่องการอ่านค่าความต้านทานของตัวต้านทาน และข้อมูลอื่นๆ สนใจเรื่องไหนกดเข้าไปอ่านกันได้ เริ่มจากการอ่านค่าความต้านทานละกันครับ
นอกจากตัวต้านที่มี 4 แถบสีแล้ว ยังมีการอ่านค่าตัวต้านทานที่มีแถบสี 3-5-6 ด้วยครับ ซึ่งเป็นตัวต้านทานที่มีความละเอียดของค่าความต้านทานขึ้น และไม่ค่อยได้พบเห็นกันทั่วไปเท่าไร บางท่านอาจจะลืมๆ กันไปบ้างใช่ไหมครับ เพราะว่าไม่ค่อยได้ใช้เท่าไรนัก ElectroDroid จัดข้อมูลให้
นอกเหนือจากตัวต้านแบบปกติที่อ่านค่าความต้านทานจากแถบสีเอา ก็มีตัวต้านทานแบบ SMD ด้วยครับ ต้องการทราบค่าความต้านทานก็ใส่รหัสตัวเลขลงในช่องว่าง จากนั้นก็จะแสดงค่าความต้านทานออกมาให้
มาดูที่กฏของโอห์มกันครับ V = IR
สามารถเปลี่ยนค่าต่างๆ ที่ใช้ในการคำนวณได้ตามต้องการไม่ว่าจะเป็น V, I หรือ R
ลองเปลี่ยนค่าของ R และเปลี่ยนคำอปุสรรคของหน่วยที่ใช้เป็น k (kilo) หรือถ้าต้องการใช้คำอุปสรรคอื่นๆ ก็มีให้เลือกมากมายตามที่ต้องการ
ค่าอื่นๆ ก็จะเปลี่ยนไปตามสูตรที่ใช้ในการคำนวณ แถมยังคำนวณกำลังไฟฟ้าในวงจรให้อีกด้วย
ค่าที่น่าสนใจอีกค่านึงก็คือ Reactance คำนวณได้ทั้งตัวเก็บประจุ และตัวเหนี่ยวนำ
เลื่อนหน้าจอลงมายังมีอีกหลายๆ ค่าการคำนวณครับ แต่ละหัวข้อนั้นน่าสนใจมากมาย เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน และผู้ที่หลงลืมไปบ้าง ก็ทบกวนกันได้ที่นี่
ที่แถบเมนูด้านบนต่อมาช่อง Pin-Out จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งขาของพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ เริ่มตั้งแต่ USB
มีทุกขนาด และทุกแบบเลยครับ ตั้งแต่ USB A/B, Mini – A/B และ Micro AB/B ขาไหน ตำแหน่งไหน คืออะไรมีข้อมูลครบๆ
แบบใหม่ล่าสุด USB 3 ก็จัดให้ครับ
ข้อมูล และรายละเอียดพอร์ตเชื่อมต่อยอดนิยมอย่าง DB-9 (9 จุดเชื่อมต่อย่อย) ที่ใช้ในการเชื่อมต่อแบบ RS-232 ซึ่งถูกใช้งานกันอย่างมากในอดีตสำหรับการสื่อสารแบบอนุกรม (Serial) กับอุปกรณ์ต่างๆ แต่ตอนนี้ยังได้รับความนิยมกันอยู่นะครับ เนื่องจากใช้งาน และทำพอร์ตเชื่อมต่อกันได้ง่าย ระลึกอดีตกันเลยทีเดียว
ที่พลาดไม่ได้คือพอร์ตการเชื่อมต่อแบบขนาน (Parallel) ที่เมื่อก่อนใช้ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นที่ต้องการความเร็วสูง เช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) อยู่ในรูปแบบของ DB-25 เนื่องจากว่ามี 25 จุดเชื่อมต่อย่อย
พอร์ตยอดนิยมอย่าง RCA (Radio Corporation of America) connector ก็มีรายละเอียดแบบที่ละเอียดมากๆ นอกเหนือจากสาย RCA 3 เส้น 3 สี แบบที่เราเห็นกันบ่อยๆ นะครับ ยังมีสายข้อมูลอื่นๆ นอกเหนือจาก แดง, เหลือง และขาว เช่น สีของสายสัญญาณของระบบเสียงรอบทิศทาง ว่าสีไหนเป็นสัญญาณอะไร
แถบเมนูย่อย Resources เป็นประมาณว่าแหล่งข้อมูลเชิงวิชาการ
ตัวอย่าง เช่น Resistivity Table หรือตารางค่าความต้านทานของสารต่างๆ
หรือจะเป็นตารางขนาดของสายไฟตามมาตรฐาน AWG และ SWG ซึ่งใช้ในการคำนวณให้พอเหมาะกับกระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรไฟฟ้านั้นๆ
สัญลักษณ์ต่างๆ ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์แบบละเอียดๆ
อักษรย่อและสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้กันประจำ ซึ่งอาจจะใช้กันไม่ถูกต้องบ้าง เช่น เป็นตัวอักษรตัวเล็กหรือตัวใหญ่ ใช้อ้างอิงได้ครับ
คำอุปสรรคในระบบ SI การใช้ตัวอักษรเล็ก/ใหญ่ อ้างอิงได้จากที่นี่ครับ เพราะมีการใช้ผิดบ้าง
ตาราง ASCII ก็มีให้ครับ ไม่ต้องเสียเวลาไปเปิดหนังสือ หรือเว็บไซต์
ที่หน้าจอหลักกดที่ปุ่มซอฟต์คีย์ จะมีเมนูปรากฏ
ที่เมนูย่อย Settings ใช้กำหนดค่าการแสดงผล
และในส่วนของ Buy Now จริงๆ แล้วคือการช่วยบริจาคให้กับผู้พัฒนาโปรแกรมครับ ถ้าสนใจก็ช่วยบริจาค และจะได้ ElectroDroid เวอร์ชั่นสำหรับผู้พัฒนามาใช้งาน ซึ่งสามารถปรับปรุงให้เป็นในแบบของเราได้ในภายหลัง
สุดยอดเลยใช่มั๊ยล่ะครับ ElectroDroid พกพาไปไหนก็ได้ ใช้งานง่าย สะดวก มีข้อมูล และรายละเอียดแบบครบๆ สำหรับช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ควรพลาดที่จะมีติดตั้งกันไว้ในแอนดรอยด์โฟนตัวเก่งด้วยประการทั้งปวงครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น